วันพฤหัสบดีที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

เกร็ดความรู้ (เพิ่มเติม)

เทคนิคการเลี้ยงดูแคคตัส : หากเลี้ยงไม่ดี ทอดทิ้งให้มันอยู่ในที่กลางแจ้งแดดจัด แคคตัสก็จะเปลี่ยนสี ลำต้นจากที่เคยเป็นสีเขียวก็กลับกลายเป็นสีเทาหม่น หนามไม่แข็งแรง หรือถ้านำไปเลี้ยงนอกบ้านแล้วให้ปล่อยตากแดดตากฝน ต้นก็จะไม่สวยเกิดเชื้อราและเน่าตายได้ การเลี้ยงแคคตัสให้สวยงามจึงควรเลี้ยงในโรงเรือนที่มีอุณหภูมิระหว่าง 30-40 องศาเซลเซียส ดินที่ใช้ปลูกต้องเป็นดินผสมทราย หนาประมาณ 50 เซนติเมตร เพื่อให้ระบายน้ำดีใกล้เคียงกับธรรมชาติมากที่สุด โดยธรรมชาติของแคคตัสจะอยู่ในสภาพอากาศร้อน มีลมผ่านตลอด ในอดีตแคคตัสจะมีรากแก้ว แต่เมื่ออยู่ไปนานๆ เข้า อากาศแห้งแล้งมากขึ้น รากแก้วก็จะแปรสภาพตัวเองให้เป็นรากฝอย หากินตามผิวดิน คอยดูดน้ำค้างตอนกลางคืน

หมวกตุรกี

เป็นแคคตัสสกุล melocactus ซึ่งมีอยู่กว่า 60 ชนิด ชื่อมาจากภาษากรีกว่า melos (melon) หมายถึงรูปทรงของต้นที่เป็นทรงกลมแป้นหรือทรงกระบอก มีทั้งขึ้นเป็นต้นเดี่ยวๆ หรือขึ้นเป็นกลุ่ม เมื่อต้นเจริญเติบโตถึงระยะผลิดอกออกผลจะเกิดปุยนุ่ม เรียกว่า cephalium ที่ยอดของต้น ซึ่งดอกและผลก็จะเกิดขึ้นในบริเวณนี้ด้วย

ถ้าเป็นลำต้นเดี่ยว จะเป็นทรงกระบอกเตี้ย สีเขียวหรือสีเขียวอมฟ้า เส้นผ่าศูนย์กลางต้น 14-19 ซม. สูง 13-45 ซม. ลำต้นเป็นสันแหลม 9-10 สัน ตุ่มหนามรูปไข่ มีปุยนุ่มสีขาวปกคลุม ประกอบด้วยหนามข้าง 7-11 อัน ซึ่งมีความยาวไม่เท่ากัน โดยอันล่างจะยาวที่สุด คือยาวประมาณ 5.3 ซม. หนามกลาง 1-4 อัน ยาวน้อยกว่าหนามข้างอันล่าง หนามมีสีขาว ปลายเป็นสีน้ำตาล cephalium ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 7-9 ซม. สูง 3.5-12 ซม. ลักษณะเป็นปุยสีขาวแน่น มีหนามละเอียดสั้นๆ สีน้ำตาลแดงจำนวนมาก ดอก รูปทรงกระบอกขนาดเล็ก สีชมพูปนแดงเข้ม ผล รูปทรงกระบอก เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.8-12 ซม. ยาว 1.9-2.3 ซม. เมื่อแก่เป็นสีขาวถึงสีชมพูอ่อน เมล็ดขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.9 -1.5 มิลลิเมตร ยาว 1-1.7 มิลลิเมตร ต้องการน้ำพอสมควรในช่วงฤดูร้อน และควรงดให้น้ำในช่วงฤดูหนาว ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด มีถิ่นกำเนิดทางภาคตะวันออกของประเทศบราซิล สามารถเจริญเติบโตได้ในหลายๆ พื้นที่ และหลายสภาพแวดล้อม เช่น หมู่เกาะเวสต์อิสดีส ทางใต้ของเม็กซิโก อเมริกาใต้

ตะบองพ่อเฒ่า

เป็นแคคตัสในสกุลเซฟฟาโลซีรีอุส ซึ่งมีเพียงชนิดเดียว ชื่อสกุลมาจากภาษากรีก หมายถึง cephalium ซึ่งเป็นบริเวณที่เกิดดอก ลักษณะลำต้นเป็นลำต้นเดี่ยว หรือแตกกิ่ง 2-3 กิ่งที่โคนต้น ลำต้นทรงกระบอก เส้นผ่าศูนย์กลางต้น 40 ซม. สูงได้ถึง 12 เมตร สีเขียวปนเทา เมื่อต้นอายุมากขึ้นจะเปลี่ยนเป็นสีเทา ต้นอ่อนมีสัน 12 สัน หรือมากกว่า ต้นที่เจริญเต็มที่มีสัน 25-30 สัน ตุ่มหนามถี่ มีหนามบอบบาง 1-5 อัน ยาว 1-2 เซนติเมตร หนามมีลักษณะคล้ายเส้นผมสีขาว 20-30 อัน ยาว 6-12 เซนติเมตร ขึ้นพันรอบต้น หนาแน่นจนปกปิดสีที่แท้จริงของต้น หนามสีขาวหม่นออกเทาถึงสีขาวเหลือง และมักหลุดล่วงในเวลาต่อมา
ดอก มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 6 เซนติเมตร ยาว 5-9 เซนติเมตร กลีบดอกสีขาว มีแถบตามยาวสีชมพูตรงกลางกลีบ ผล รูปไข่ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2-2.5 เซนติเมตร ยาว 3 เซนติเมตร สีแดง เมื่อแห้งจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล เมล็ดมีสีน้ำตาลปนดำเป็นมัน ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดและการตัดแยกต้น ในช่วงระยะแรกของการปลูกเลี้ยง ควรระวังเรื่องการให้น้ำ ถ้ามากเกินไปรากจะเน่าตายได้

แมมแม่เฒ่า

เป็นแคคตัสที่สวยงามน่ารักต้นหนึ่ง เมื่อยังเล็กจะมีลักษณะหัวกลม พอต้นโตเต็มที่จะมีลำต้นสูงเล็กน้อย มีหน่อ มีลูกออกมารอบโคน จากตุ่มหนามเล็กๆ รอบๆ ต้นนั้นมีขนสีขาวงอกออกมา 20-30 เส้น และมีหนามกลางพุ่งออกมาตรงๆ สีขาวเหมือนกัน แต่ตอนปลายเป็นสีน้ำตาล และในร่องระหว่างตุ่มหนาม มีปุยขาวลักษณะเป็นวงกลมคล้ายวงพายุเทอร์นาโดหมุนวนอยู่ (ช่วงตอนบนของลำต้น) ดอกมีสีแดงอมม่วง กว้างประมาณ 8-15 มิลลิเมตร ดอกจะออกรอบส่วนยอดคล้ายวงแหวน มีถิ่นกำเนิดในประเทศเม็กซิโก เป็นไม้ที่เลี้ยงง่าย ชอบดินโปร่งๆ ชอบแดด ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด ข้อสังเกต แมมแม่เฒ่า นิยมเลี้ยงคู่กับ ตะบองพ่อเฒ่า หรือ old man cactus


ถังทอง หรือ เก้าอี้แม่ยาย

เป็นแคคตัสสกุล echinocactus มีมากกว่า 10 ชนิด ชื่อสกุลมาจากภาษากรีก หมายถึง “เม่น” และ “หนาม” ต้นมีลักษณะเป็นทรงกลมหรือทรงกระบอก อาจขึ้นเป็นต้นเดี่ยวหรือต้นกลุ่ม ชนิดที่มีขนาดใหญ่มาก จะมีความสูงถึง 1.8 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เมตร ลำต้นเป็นสัน 8-50 สัน(พู) แล้วแต่ชนิด ผิวต้นมีสีเขียวถึงสีเขียวอมฟ้า เมื่ออายุยังน้อยจะมีสันน้อย และเนินหนามนูนเด่นชัด เมื่อโตเต็มที่จำนวนสันจะเพิ่มขึ้น มี 30-40 สัน สันลึก ตุ่มหนามบริเวณปลายยอดมีขนสั้นๆ สีขาวถึงสีเหลืองปกคลุม หนามข้าง 8-10 อัน สีเหลืองทอง หรือสีเหลืองอ่อน บางครั้งเป็นสีขาว หนามกลางมี 4 อัน ยาว 3-5 เซนติเมตร ลักษณะคล้ายหนามข้าง
ดอกเกิดบริเวณใกล้ปลายยอด ออกดอกเป็นวงคล้ายมงกุฎ ดอกทรงระฆัง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3-5 เซนติเมตร กลีบรวมแคบ ปลายเรียวแหลม สีเหลือง ปลายกลีบเป็นสีน้ำตาล ผลขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 เซนติเมตร เมล็ดสีแดงเข้มเป็นมัน ถังทอง หรือ เก้าอี้แม่ยาย มีถิ่นกำเนิดอยู่ทางภาคตะวันออกของเม็กซิโกกลาง

เล็บเหยี่ยว

เป็นแคคตัส สกุล เฟอโรแคคตัส ชื่อสกุลหมายถึง “หนามที่แข็งแรงมาก” ตุ่มหนามมีขนาดใหญ่ ประกอบด้วยหนามข้าง 10-20 อัน ซึ่งมีลักษณะอ้วนและแผ่กระจายไปโดยรอบ หนามกลาง 4 อัน โผล่ตั้งตรงออกมาจากตุ่มหนาม ปลายหนามกลางมีลักษณะเป็นรูปตะขอ ยาว 15 เซนติเมตร หนามข้างแข็งมาก ยาว 7.5 เซนติเมตร ลักษณะทรงกลมออกแป้นด้านบนได้ถึง 1 ฟุต 3 นิ้ว ผิวสีเขียวเทา และขึ้นนูนเป็นสัน 15-23 พู ซึ่งจะหยักตรงตำแหน่งตุ่มหนาม ซึ่งมีสีเทา และมีหนามข้างที่อยู่รอบๆ หนามกลาง 6-12 อัน จะมีสีอ่อน ส่วนที่เป็นหนามกลาง จะมีสีแดงซึ่งมีทั้งหมด 4 อัน ยาวประมาณ 1 1/3 นิ้ว โดยที่อันล่างสุดจะแบนกว้าง ปลายงอแนบกับต้นคล้ายตะขอหรือกรงเล็บเหยี่ยว



นิ้วนางรำ

เป็นไม้ในสกุล leuchtenbergia ซึ่งมีอยู่ชนิดเดียว คือ leuchtenbergia principis สำหรับชื่อสกุล มาจากชื่อของ duke of leuchtenberg หลานของนโปเลียนโบนาปาต คำว่า “princeps” เป็นภาษาลาติน แปลว่า “เจ้า” ชื่อสามัญของไม้ต้นนี้ ในต่างประเทศ คือ อากาเว แคคตัส (agave cactus) เพราะก้านยาวที่พุ่งออกมาจากลำต้นเหมือนใบอากาเวนั้น ทำให้แคคตัสต้นนี้แลดูคล้ายกับอากาเวต้นเล็กๆ แคคตัสนิ้วนางรำ มีรูปร่างผิดแผกไปจากแคคตัสต้นอื่นทั่วๆ ไป เพราะเนินหนามนั้นแทนที่จะออกมาเป็นตุ่มเป็นเนินสูงเหมือนต้นอื่นๆ กลับเป็นก้านสามเหลี่ยมยาว และมีหนามออกมาจากตุ่มหนามตรงปลายก้านหรือเนินหนามนั้น



ลักษณะเด่นของแคคตัส (เพิ่มเติม)

คือ บริเวณลำต้นจะมีตุ่มหนามหรือขนแข็งขึ้นอยู่ โดยขนแข็งดังกล่าวจะเรียงไปตามแนวซี่หรือสันสูงของต้นอย่างเป็นระเบียบ อีกทั้งยังเป็นบริเวณที่เกิดตาดอกและแตกกิ่งใหม่ของต้น ดอกของแคคตัสมีสีสวยสดงดงาม ดอกจะมีกลีบเลี้ยงและกลีบดอกแยกกัน ส่วนรังไข่จะอยู่ต่ำกว่าส่วนอื่นๆ แคคตัสมีรูปทรงแตกต่างกันไปมากมาย เช่น ทรงกลม ทรงกระบอก มีทั้งที่ขึ้นเป็นต้นเดี่ยวๆ เป็นลำสูง และที่ขึ้นรวมกันเป็นกลุ่มเป็นกอ หลายขนาดหลายประเภท

แคคตัสในภาษากรีกโบราณ

แคคตัส เป็นภาษากรีกโบราณ หมายถึง พันธุ์ไม้ที่มีหนาม โดย linnaeus (carlvon linne')  แพทย์และนักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดน เป็นผู้นำมาใช้เรียกไม้อวบน้ำที่มีรูปร่างแปลกๆ ไม่มีใบ มีแต่หนาม (ใบที่เปลี่ยนรูปกลายเป็นหนาม) มีถิ่นกำเนิดในภูมิประเทศแห้งแล้ง ทุรกันดาร จึงต้องปรับตัวให้สามารถเก็บออมถนอมน้ำไว้ในลำต้น ไว้ใช้ยามที่ภูมิประเทศรอบๆ ตัวขาดน้ำเป็นเวลานานได้ สังเกตได้ว่า แคคตัสมีลักษณะผิดไปจากไม้ยืนต้นพันธุ์อื่นๆ ที่มีใบและที่ใบมีปากใบ สำหรับถ่ายเทอากาศและคายน้ำออก ทำให้น้ำระเหยออกจากต้นได้เร็ว เนื่องจากแคคตัสไม่มีใบ มีแต่หนาม น้ำจึงระเหยออกไปได้ยาก แคคตัสจึงเก็บถนอมน้ำไว้ได้นานกว่าพันธุ์ไม้อื่นและเติบโตได้ดีในที่แห้งแล้ง


 แพทย์และนักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดน เป็นผู้นำมาใช้เรียกไม้อวบน้ำที่มีรูปร่างแปลกๆ ไม่มีใบ มีแต่หนาม (ใบที่เปลี่ยนรูปกลายเป็นหนาม) มีถิ่นกำเนิดในภูมิประเทศแห้งแล้ง ทุรกันดาร จึงต้องปรับตัวให้สามารถเก็บออมถนอมน้ำไว้ในลำต้น ไว้ใช้ยามที่ภูมิประเทศรอบๆ ตัวขาดน้ำเป็นเวลานานได้ สังเกตได้ว่า แคคตัสมีลักษณะผิดไปจากไม้ยืนต้นพันธุ์อื่นๆ ที่มีใบและที่ใบมีปากใบ สำหรับถ่ายเทอากาศและคายน้ำออก ทำให้น้ำระเหยออกจากต้นได้เร็ว เนื่องจากแคคตัสไม่มีใบ มีแต่หนาม น้ำจึงระเหยออกไปได้ยาก แคคตัสจึงเก็บถนอมน้ำไว้ได้นานกว่าพันธุ์ไม้อื่นและเติบโตได้ดีในที่แห้งแล้ง

หมวกสังฆราช

เป็นแคคตัสในสกุล astrophytum ชื่อสกุลมาจากภาษากรีก หมายถึง “พืชดาว” (star-plant) ต้นอ้วนกลมหรือเป็นทรงกระบอก เส้นผ่าศูนย์กลางต้น 10-20 เซนติเมตร สูง 30-60 เซนติเมตร ลักษณะลำต้นเดี่ยว ในระยะแรกรูปร่างค่อนข้างกลม เมื่อโตเต็มที่จะเปลี่ยนรูปเป็นทรงกระบอก มีเหลี่ยมมีสันแหลมหรือมนตั้งแต่ 3-10 พู แต่ที่หาพบได้ง่ายคือ 4-5 พู แต่ถ้าขึ้นรวมกันเป็นกลุ่มจะมีสันเพิ่มขึ้นเป็น 6-8 พู ผิวมีตั้งแต่เขียวล้วนไปจนมีจุดขาวหนาแน่น มีขนาดใหญ่เต็มที่ประมาณ 15 ซม. ลำต้นมีเกล็ดสีขาวหนาแน่น ไม่มีหนาม ยกเว้นเมื่อต้นยังมีอายุน้อย ดอกรูปกรวยสีเหลืองอ่อน บริเวณโคนกลีบดอกจะมีสีเหลืองเข้มกว่า และมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 4-7 ซม. เกสรละเอียด มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ผลมีลักษณะทรงกลม เมื่อผลแก่จะปริบริเวณปลายผล แคคตัสสกุลแอสโตรไฟตั้ม มีถิ่นกำเนิดอยู่ทางตอนใต้ของสหรัฐอเมริกาและตอนเหนือของประเทศเม็กซิโก ชอบแดดค่อนข้างมาก ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด


วันอาทิตย์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2559

สถานที่จัดจำหน่ายแคคตัส

1.ร้านกระท่อมลุงจรณ์





สถานที่ตั้ง :  สวนจตุจักร  โครงการ 5 ซอย 54
วันอังคาร  เวลา 18.30 น. - 23.00 น.
วันพุธ       เวลา 10.30 น. - 17.00 น.
วันเสาร์     เวลา 05.00 น. -16.00 น.

เส้นทางเดินทาง


















2.ร้านไผ่เงินเจริญทรัพย์































แคคตัสหัวสี
สอบถามสั่งซื้อได้ที่ http://www.nanagarden.com/inquire.aspx?ProductID=101530


3.SYT CACTUS




ในรูปเป็นเพียงตัวอย่างเท่านั้น จำหน่ายแคคตัสสายพันธุ์ Astrophytum asterias, myriostigma, capricorne  จัดส่งทั่วประเทศ ทางไปรษณีย์ ems สนใจดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://sytcactus.pantown.com/ ตัวอย่าง รหัส ems ที่จัดส่งแล้ว ตรวจสอบได้ที่ http://track.thailandpost.co.th/trackinternet/Default.aspx โดยใช้รหัส 13 ตัว eh270281334th eh270263959th eh270263962th eh270352764th eh270352778th eh270348835th 
ราคา 25 บาท  ติดต่อเบิร์ด โทร 0875955217, 0875955217 

และอีกมากมายทั่วประเทศไทย



วันพฤหัสบดีที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2559

น้ำ (Water)

คนเลี้ยงส่วนมากแล้วมักจะรดน้ำในตอนเช้า ก่อนกระถาง หรือ เครื่องปลูกจะร้อนมาก เพราะถ้ารดตอนร้อนมากๆ กระถางกับเครื่องปลูก ก็จะกลายเป็นหม้อต้ม พร้อมที่จะปรุงแคคตัสของเราให้สุกได้อย่างดีเลยทีเดียว ส่วนถ้าตอนเช้าต้องไปทำงานไม่มีเวลารด ก็สามารถรดได้ในตอนเย็น หรือ เมื่อเครื่องปลูกเย็นแล้วก็ได้ แต่เราชอบรดตอนเย็นมากกว่า เพราะปัจจุบันนี้ เพียงแค่ 7 โมงเช้า แดดก็ร้อนซะแล้ว รดตอนเย็น อากาศก็เย็น ใจก็เย็น ทำให้ตอนรดน้ำไปด้วย พิจารณา สังเกตุแคคตัสไปด้วย  อย่างสบาย(อันนี้ผู้เลี้ยงควรพิจารณาตามความเหมาะสม เป็นความชอบส่วนตัวค่ะ ^^)  ระยะเวลาห่างในการรดน้ำ วิธีสังเกตุง่ายๆ หลังจากที่เรารดน้ำไปวันแรก ให้เช็คดูทุกวันว่า อีกกี่วันถัดมาดินถึงจะแห้ง เมื่อดินแห้งแล้วให้เว้นไปอีก 1 วัน แล้วค่อยรดในวันถัดมา ปล่อยให้ดินมีวันที่ได้แห้งบ้าง กระถางเล็ก กระถางใหญ่ ก็มีผลกับระยะในการแห้งของดิน โดยเฉลี่ยแล้วจิ๊บจะรดประมาณ 4 วันครั้ง ถ้าเป็นไม้ต่อที่ต้องการน้ำมากหน่อย ก็จะรด วันเว้นวัน ถ้าเป็นกลุ่มฮาโวเทีย จะรดพร้อมกับแคคตัส แต่จะสเปรย์น้ำให้วันเว้นวันค่ะ

โรงเรือน (Green House)

โดยธรรมชาติของแคคตัสแล้ว จะสามารถอยู่ได้ในกลางแจ้งที่มีแดดจัดเต็มที่ แต่ลักษณะของแคคตัสที่อยู่กลางแจ้งนั้น จะมีผิวที่กร้านแดด ไม่สดใสสวยงาม ถ้าเทียบกับแคคตัสที่เลี้ยงโดยมีการพรางแสงบ้างเล็กน้อย เว้นแต่ชนิดที่มีขน หรือ หนามปกคลุมจนมิดเนื้อลำต้น ดังนั้นประโยชน์ของการสร้างโรงเรือนแคคตัสก็เพื่อปกป้องแคคตัสจากสิ่งที่ควบคุมไม่ได้ เช่น แสงแดด และ ฝน ที่มากจนเกินความต้องการ
  • ข้อควรระวัง ก่อนสร้างโรงเรือนแคคตัสควรดูเรื่องทางของแสงให้ดี ว่ามีเงาต้นไม้ หรือ เงาบ้านบังหรือไม่ เพื่อนนักเล่นบางท่าน มีปัญหากับเงาของต้นไม้เป็นประจำเวลาสร้างโรงเรือน บางท่านถึงกับต้องโค่นต้นมะม่วงไปเลยก็มี
โรงเรือนที่เหมาะสมกับการปลูกแคคตัส จะต้องเลี้ยงแคคตัสได้อย่างสุขสบาย มีลักษณะตามสายพันธุ์ที่ถูกต้อง มีสีสวยงามทุกฤดู ไม่กลัวแดดในฤดูร้อน และ ไม่เน่าตายในฤดูฝน  สามารถป้องกันแมลงและสัตว์ต่างๆ ที่เป็นอันตรายกับแคคตัสได้
รูปแบบส่วนใหญ่สำหรับโรงเรือนแคคตัสในบ้านเรา มักจะใช้พลาสติดกัน UV ชนิดใส มุงหลังคา ซึ่งในระยะแรกอาจจะใสมาก ควรจะใช้สแลน หรือ เนตไนล่อนสีขาว คลุมพลางแสงสัก 50%  จนเมื่อพลาสติกเริ่มขุ่น แคคตัสเริ่มปรับสภาพได้ ค่อนนำเนตไนล่อนสีขาวออก ซึ่งวิธีนี้เหมาะสำหรับโรงเรือนเล็กๆ ที่ไม่ต้องการลงทุนมาก และ สามารถเปลี่ยนแผ่นพลาสติกได้ง่าย เพราะพลาสติกมีอายุการใช้งานน้อย จะอยู่ได้เพียง ปี หรือ 2 ปีเท่านั้น แต่จิ๊บเคยลองใช้เนตไนล่อนสีขาวคลุมทับพลาสติคอีกชั้น ปรากฏว่า สามารถยืดอายุการใช้งานพลาสติกได้อีกเป็นปีเลยทีเดียว



อีกวิธีหนึ่งซึ่งดูถาวร และ มั่นคงกว่า แต่ต้องลงทุนมากหน่อย ก็คือการมุงหลังคาด้วยกระเบื้องใส ซึ่งมีให้เลือกหลายชนิด ยิ่งดี ราคาก็ยิ่งสูงตามไปด้วย
กระเบื้องใส ชนิดที่เป็นใยแก้ว มีอายุการใช้งาน ประมาณ 2-5 ปี เพราะกระเบื้องจะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีเหลือง และ ขุ่น ทำให้ได้รับแสงแดดได้เป็นเต็มที่ จึงจำเป็นต้องเปลี่ยนใหม่  ราคาตกแผ่นล่ะ 150 - 180 บาท
กระเบื้องใส ชนิดที่เป็น โพลีคาร์โบเนต มีอายุการใช้งาน ประมาณ 3 – 7 ปี 
กระเบื้องใส ชนิดที่เป็น อะคิริค มีอายุการใช้งาน ประมาณ 7 – 10 ปี กระเบื้องชนิดนี้จะเป็นที่นิยมใช้มากที่สุด เนื่องจากทนทาน มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน ราคาตกแผ่นล่ะ 220 – 350 บาท  ลองอ่านเพิ่มเติมได้ที่ ลิงค์นี้นะคะ 
ถ้าถามจิ๊บว่า โรงเรือนจำเป็นไหมสำหรับการเลี้ยงต้นแคคตัส จิ๊บว่าจำเป็นมากๆ สำหรับคนที่ต้องการเลี้ยงแคคตัสอย่างจริงจัง นักเล่นจำนวนไม่น้อย ที่เสียดายเงินสร้างโรงเรือน แต่ไม่เสียดายเงินที่จะซื้อต้นไม้ราคาสูงๆ ซึ่งในที่สุดแล้ว เมื่อสถานที่เลี้ยงไม่ดี เราก็ไม่สามารถที่จะดูแลรักษาแคคตัสที่รักได้ ความเสียหายมันมากกว่าเงินที่จะนำมาสร้างโรงเรือนเสียอีก (น่าเสียดายนะคะ)

ปุ๋ย (Fertilizer)

การใส่ปุ๋ยแคคตัสนั้น เราสามารถใช้ปุ๋ยกล้วยไม้ให้แก่แคคตัสได้ แต่ควรใช้ในปริมาณที่ต่ำกว่าฉลากข้างขวดระบุไว้ ไม่ควรใจร้อนให้ปุ๋ยแคคตัสในปริมาณมาก เพราะอาจเกิดผลร้ายมากกว่าผลดี การให้ปุ๋ยแคคตัสในปริมาณมาก อาจทำให้ต้นแคคตัสระเบิดได้


วันพฤหัสบดีที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2559

แบบสอบถาม

แสงแดด (Sunlight)

แคคตัสอาศัยแสงแดดในการปรุงอาหารเลี้ยงลำต้นเพื่อความเจริญเติบโตและการอยู่รอด เช่นเดียวกับต้นไม้ชนิดอื่น
แคคตัส ส่วนมากมีถิ่นกำเนิดในภูมิประเทศที่ร้อน และ แห้งแล้ง เพื่อเลียนแบบแคคตัสในธรรมชาติ แคคตัสควรจะได้รับแสงแดดให้นานตลอดวัน เพราะการได้รับแสงแดดที่เต็มที่นี้ จะทำให้แคคตัสแข็งแรงเติบโต ได้รูปทรงที่ถูกต้องตามลักษณะสายพันธุ์ ไม่สูงชะลูด หรือ ยืดหัวหลิม และแสงแดดยังทำให้ หนามของแคคตัสใหญ่ และ ยาวขึ้น ถ้าเป็นต้นที่มีขนสีขาว ขนก็จะขาวขึ้น ถ้าเป็นหนามที่มีสี สีสันก็จะออกจัดจ้านขึ้นด้วย การที่หนามมากขึ้น หรือ หนาขึ้นนั้น เป็นสัญชาตญาณเพื่อสร้างการป้องกัน เพื่อปกป้องตัวเองจากแสงแดดนั่นเอง แต่ก็อาจมีบางชนิดที่ต้องเลี้ยงร่มกว่าปกติ ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ชนิดนั้นๆด้วย
การนำแคคตัสออกแดดจัดนั้นจะต้องมีวิธีการอย่างค่อยๆเป็น ค่อยๆไป ต้นไหนที่รากยังไม่เดินเต็มที่ ก็ควรตั้งไว้ในที่ถูกแดดไม่มากนั้น เมื่อรากเดินเต็มที่แล้ว (ดูได้จากยอดที่เริ่มออกใหม่ หรือ ต้นเริ่มแน่นแล้ว) จึงค่อยย้ายไปในที่ได้รับแดดได้มากขึ้น หรือ ต้นไหนที่เริ่มมาจากการเลี้ยงร่ม ก็ต้องค่อยเพิ่มแดดให้เค้าทีละนิด ทีละนิด ถ้านำออกไปตากแดดจัดทันที อาจทำให้ต้นไม้ไหม้ ผิวเสีย และอาจถึงตายได้  ต้องใจเย็นๆ ค่อยปรับสภาพต้นไม้ เพื่อให้รับสภาพกับแดดที่จัดได้ แล้วคุณจะรู้ว่ามันคุ้มค่าจริงๆ กับหนามใหม่ที่จะออกมายลโฉมให้เห็น

สรุปแล้ว แคคตัส เลี้ยงง่าย หรือ เลี้ยงยากกันแน่ ?

ในความเป็นจริงแล้ว การเลี้ยงแคคตัสนั้น มีวิธีการเลี้ยงที่แตกต่างจากต้นไม้อื่นๆ ที่ต้องรดน้ำเช้าเย็น หรือ ต้องรดน้ำทุกวัน แต่แคคตัสนั้น ต้องเลี้ยงแบบเลี้ยงบ้าง ไม่เลี้ยงบ้าง รัก ก็ทำเหมือนไม่รัก (เริ่มดราม่าแล้ว) คือไม่ต้องประคบประหงมดูแลเหมือนต้นไม้ชนิดอื่น น้ำก็ไม่ต้องรดทุกวัน  เพราะลำต้นของแคคตัสมีความสามารถในการเก็บน้ำสำรองไว้ใช้เป็นจำนวนมาก จึงสามารถอดน้ำได้หลายวัน บางคนรักมาก กลัวว่าถ้าไม่ดูแลไม่ใส่ใจแล้วแคคตัสจะไม่โต ก็รดน้ำทั้งเช้า ทั้งเย็น ผลที่ตามมาก็คือรากเน่า ต้นฉ่ำน้ำ เหลือแต่กระถางกันไป

การจัดวางกระบองเพชร

1. ไม่ควรวางกระถางไว้บนหรืออยู่ใกล้เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ เช่น คอมพิวเตอร์ PC และตู้เย็น เป็นต้น เนื่องจากเครื่องใช้ไฟฟ้าบางชนิดจะเกิดแรงสั่นสะเทือน และแผ่คลื่นรังสีออกมา สิ่งเหล่านี้ จะส่งผลต่อการคายน้ำ และทำให้กระถางแห้งเร็ว แต่คนทั่วไปมักวางกระบองเพชรไว้บนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มักเชื่อว่า กระบองเพชรจะช่วยดูดซับคลื่นรังสีไม่ให้ผู้ใช้ได้รับอันตราย แต่ความจริงแล้ว คลื่นรังสีจากเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถแพร่ออกได้ทุกทิศทาง และกระบองเพชรมีลำต้นเล็ก ดังนั้น จึงไม่สามารถป้องกันคลื่นรังสีได้
2. ไม่ควรวางใกล้กับจุดที่มีความร้อน เช่น ข้างตู้เย็น และเครื่องทำน้ำร้อน เป็นต้น เพราะความร้อนจากแหล่งเหล่านี้จะทำให้กระบองเพชรสูญเสียน้ำได้ง่าย
3. ไม่ควรวางในจุดที่ลมแอร์พัดใส่ เพราะแรงลม และความเย็นจะทำให้กระบองเพชรคายน้ำมากขึ้น
4. ไม่ควรวางในจุดที่เป็นมุมอับที่แสงส่องไม่ถึงหรืออากาศถ่ายเทไม่สะดวก เพราะหากกระบองเพชรจะไม่ได้รับแสง ทำให้ลำต้นมีสีเขียวลดลง

วันจันทร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2559

กลุ่มของกระบองเพชร

กลุ่มของกระบองเพชรเป็น 8 กลุ่ม คือ
1. กลุ่ม Pereskia เป็นกลุ่มที่มีใบ แต่ไม่มีหนามหรือขน จัดเป็นกลุ่มที่ยังมีใบเหลืออยู่ ใบยังไม่วิวัฒนาการเป็นหนามอย่างสมบูรณ์ แต่ใบที่มีไม่ได้ทำหน้าที่หลักในการสังเคราะห์แสง และการสร้างอาหาร แต่จะใช้ลำต้นทำหน้าที่สังเคราะห์แสงเป็นหลักเหมือนกับกลุ่มอื่น กลุ่มนี้จะมีเมล็ดสีดำ ได้แก่ สกุล
– Maihuenia
– Pereskia

Maihuenia

Pereskia

2. กลุ่ม Opuntia เป็นกลุ่มที่มีใบเหมือนกับกลุ่ม Pereskia และเป็นกลุ่มที่มีหนามแข็ง และมีขนแข็งงอ จัดเป็นกลุ่มที่ใบมีการพัฒนาเป็นหนามเกือบสมบูรณ์ เนื่องจาก ยังเหลือใบบางส่วนที่ยังไม่ได้กลายเป็นหยามทั้งหมด พันธุ์นี้ เมล็ดจะมีปีกติดอยู่ด้วย ได้แก่ สกุล
– Tacinge
– Opuntia
– Quiabentia
– Pereskiopsis
– Pteroctus
3. กลุ่ม Cereus กลุ่มนี้ไม่มีใบ จัดเป็นกลุ่มที่เปลี่ยนจากใบเป็นหนามอย่างสมบูรณ์ ลำต้นทรงกระบอก ลำต้นเป็นเหลี่ยม บริเวณสันเหลี่ยมมีหนามมาก รวมถึงอาจพบหนามบริเวณโคนดอกด้วย กลุ่มนี้มีเมล็ดสีดำหรือสีน้ำตาล ได้แก่ สกุล
– Armatocerus
– Arrojadoa
– Bracrycerus
– Carnegiea
– Bergerocactus
– Browningia
– Calymmanthium
4. กลุ่ม Echinopsis กลุ่มนี้มีลักษณะลำต้นเช่นเดียวกับกลุ่ม Cereus แต่มีขนาดเล็กกว่าเล็กน้อย ดอกมีรูปทรงเป็นหลอด และมีขนสั้นๆปกคลุม ได้แก่ สกุล
– Echinopsis
– Oroya
– Lobivia
– Arequipa
– Denmosa
– Espostoa
5. กลุ่ม Hyrocereus กลุ่มนี้มีลักษณะเหมือนกับกลุ่ม Cereus และเป็นกลุ่มที่เติบโตแบบอิงอาศัย มีระบบรากเป็นรากอากาศ ลำต้นมีลักษณะเป็นเหลี่ยม และมีหนามไม่แข็งแรง ได้แก่ สกุล
– Deamia
– Wittia
– Zygocactus
– Epiphyllum
– Hyrocereus
6. กลุ่ม Neopoteria ลำต้นมีขนาดเล็ก และเป็นเหลี่ยม มีหนามปกคลุม ลำต้นเป็นแบบวงกลมหรือทรงกระบอก อาจพบบางชนิดมีปุยที่โคนดอก ได้แก่ สกุล
– Eriosyce
– Raliea
– Neopoteria
– Parodia
7. กลุ่ม Melocatus ลำต้นมีรูปทรงคล้ายกับกลุ่ม Neopoteria ไม่มีใบ มีหนามแข็งปกคลุม อาจพบบางชนิดมีปุยที่โคนดอก ได้แก่ สกุล
– Discocactus
– Melocactus
– Buiningia
8. กลุ่ม Echinocactus ลำต้นมีรูปทรงคล้ายกับกลุ่ม Melocatus จะต่างกันที่ตำแหน่งดอก โดยดอกในกลุ่มนี้จะแทงออกบริเวณตรงกลางที่ปลายสุดของลำต้น ได้แก่  สกุล
– Coloradoa
– Escobaria
– Islaya
– Echinocactus

ชนิดกระบองเพชร

ที่พบมาก มี 4 ชนิด ได้แก่

1. อิชินอปซิ (Echinopsis)
สกุลนี้มีประมาณ 60 ชนิด ส่วนมากมีลำต้นกลมหรือกลมแป้น บางชนิดที่มีอายุมากจะเป็นทรงกระบอก ลำต้นเป็นสัน  8-16 สัน มีทั้งต้นเดี่ยว และเป็นกลุ่มกอ แตกกอได้ตั้งแต่ต้นยังเล็ก บางชนิดอาจสูงได้มากกว่า 50 เซนติเมตร และเส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า 30 เซนติเมตร ผิวลำต้นมีสีเขียวสดใสหรือเป็นมัน ดอกสีขาวหรือสีชมพูอ่อน บางชนิดสีแดง มีก้านดอกยาวแทงออกจากปลายลำต้น ผลเป็นทรงกลม เป็นสกุลที่ปลูกง่าย และเลี้ยงง่าย ปรับตัวได้ดีกับสภาวะอากาศของเมืองไทย


2. เฟโรแคคตัส (Ferocactus)
สกุลนี้มีอยู่ราว 35 สายพันธุ์ มีดอกเมื่ออายุมากพอควร มีถิ่นกำเนิดอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของอเมริกา และแม็กซิโก รูปร่างกลมแป้นหรือกลม เตี้ย บางชนิดอาจมีความสูงได้มากถึง 3 เมตร สันลำต้นเป็นเหลี่ยมๆ มีร่องลึก สันหนามไม่แยกกัน สีลำต้นสีเขียวเข้มจนไปถึงสีเขียวอมฟ้า ลำต้นเดี่ยว ต้นอ่อนไม่มีหน่อ เว้นแต่ชนิดเฟอโรแคคตัส โรบัสตัส และเฟอโรแคคตัสฟลาโวไวเรน ที่สามารถแตกได้ตั้งแต่อายุยังน้อย ส่วนตุ่มหนามค่อนข้างใหญ่ มีหนามด้านข้าง และหนามกลาง มีลักษณะโค้งเป็นตะขอ สีหนามมีหลายสี เช่น สีเหลือง ชมพู สีส้มหรือสีแสด และสีแดง



3. ยิมโนคาไลเซียม (Gymnocalycium)
สกุลนี้มีถิ่นกำเนิดในบลาซิล โบลิเวีย อาร์เจนตินา อุรุกวัย และปรากวัย ดอกมีขนาดใหญ่สวยงาม เลี้ยงง่าย เติบโตเร็ว และมีความต้านทานโรคได้ดี ส่วนมากมีลักษณะลำต้นทรงกลม หรือกลมแป้น มีเพียงบางชนิดที่เป็นรูปทรงกระบอก มีสันหนามแยกกันอย่างชัดเจน สันหนามมีลักษณะพองโป่ง คล้ายโหนกยื่นออกมา สามารถออกดอกไดเมื่อต้นมีอายุได้ 2 ปี ดอกจะแทงออกจากส่วนยอด ดอกเป็นหลอดสั้นบาง ปกคลุมด้วยกาบเปลือย ซึ่งเป็นที่มาของชื่อสกุลนี้ ดอกมีหลายสี ได้แก่ สีขาว สีครีมออกเหลือง ชมพูเข้มถึงแดงเข้ม ออกดอกในฤดูร้อน การเลี้ยงไม่จำเป็นต้องถูกแสงแดดมาก แต่สามารถปลูกที่กลางแจ้งได้ดี และต้องระวังไม่รดน้ำมากหรือระัวังไม่ให้โดนฝนมาก



4. แอสโตรไฟตั้ม ไมริโอสติ๊กมา (Astrophytum myriostigma)
สายพันธุ์นี้มีถิ่นกำเนิดในประเทศเม็กซิโกตอนเหนือ ลักษณะต้นอ่อนเป็นทรงกลม เมื่อโตเป็นทรงกระบอก อาจสูงได้ถึง 60 เซนติเมตร บางชนิดเป็นทรงกลมเตี้ย สันลำต้นมี 5-8 สัน มีลักษณะอวบใหญ่ มีสีเขียว มีจุดสีขาว มีขนปุยสีขาวกระจายทั่ว คล้ายแฉกปลาดาว แตกต่างกันตามชนิด สันลึกประมาณ 4.5 เซนติเมตร ตุ่มหนามอยู่บนสัน และมีปุยขนสีน้ำตาลอ่อน ดอกมีสีเหลืองซีด เส้นผ่าศูนย์กลางดอก 4-6 เซนติเมตร แทงออกตรงกลางบริเวณส่วนบุ๋มของปลายลำต้น เกสรตัวเมียอยู่ส่วนปลาย จำนวน 7 อัน เกสรมีสีเหลือง ผลที่ติดแล้วจะมีสีเขียว ประกอบด้วยเมล็ดขนาดใหญ่สีน้ำตาล กระบองเพชรชนิดนี้ค่อนข้างชอบแดดจัด และต้องการน้ำมาก สามารถขยายพันธุ์ได้ด้วยเมล็ดหรือการชำเนื้อเยื่อ